วันเสาร์ที่ 22 มิถุนายน พ.ศ. 2556

การเพาะ”เห็ดฟาง” ด้วยเปลือกมันสำปะหลัง

การเพาะ”เห็ดฟาง” ด้วยเปลือกมันสำปะหลัง

1. เริ่มต้นด้วย การเตรียมดิน ส่วนใหญ่ก็จะขุดดินตากย่อย แต่ถ้าดินร่วนซุยมาก ๆ เป็นดินทราย อยู่แล้วปาดพื้นให้เรียบก็พร้อมที่จะใช้ได้
2. เอาไม้มาตีเป็นกรอบ เป็นแม่พิมพ์กว้าง 1 ฟุต ยาวฟุตครึ่ง หรือ 2 ฟุต สูง 1 ฟุตหรือจะรูปร่างแตกต่างจากนี้ก็ใช้ได้ทั้งนั้น วางบนพื้น ดิน
3. เอาวัตถุดิบคือเปลือกของหัวมันสำปะหลัง มาแช่หรือเอามาชุบน้ำให้เปียก แล้วนำมาใส่ในกรอบไม้ ใส่จนได้ระดับที่ต้องการเช่น ประมาณ 1 ฝ่ามือหรือ ประมาณ 1 คืบ แล้วก็กดให้แน่น จากนั้นก็ยกกรอบไม้ออก วางเลยไป ประมาณ 1 ฟุต แล้วก็ทำกองต่อไปทำเหมือนกัน
4. เมื่อเตรียมกองเห็ดได้มากจนถึงระดับที่พอใจแล้ว ก็เอาเชื้อเอาอาหารเสริม มาใส่ โรยให้ทั้งบนกองและทั้งบนดินรอบ ๆ กอง รดน้ำอีกจนเพียงพอ น้ำสุดท้าย ใช้ภูไมท์จำนวน 1 กก.ต่อน้ำ 5 ปีบ กวนให้ละลายแล้วก็รดลงไป
5. สุดท้ายแล้วปิดด้วยผ้าพลาสติก เอาฟางคลุมทิ้งไว้ 3 วัน 3 คืน เส้นใยเห็ด ฟางก็เจริญแผ่ไปทั่ว วันที่ 4 เปิดผ้าพลาสติกแล้วรดน้ำลงไป เป็นการตัดใยให้ ยุบเพื่อเป็นการถ่ายเทอากาศแล้วปิดเหมือนเดิม บางคนอาจจะขึ้นโครงวันนี้หรือ บางคนอาจจะขึ้นโครงมาตั้งแต่วันแรก ก็คลุมไว้ตามเดิม แล้วเปิดรดน้ำตามความ จำเป็นดูความเหมาะสม ดูว่าดินแห้งหรือกองแห้งหรือไม่อย่างไร และถ่ายเท อากาศ ทำในวันที่ 5 และวันที่ 6 วันที่ 7 และวันต่อไป
6. ประมาณวันที่ 7 ก็มีเห็ดให้เริ่มเก็บได้แล้ว เห็ดนี้ก็จะเก็บได้จน กระทั่งหมด อาจจะใช้เวลาแค่ 3 – 5 วัน แต่ถ้าทำกองค่อนข้างสูงก็อาจจะเก็บ ได้หลายวันขึ้น ย้ายที่ทำแปลงใหม่เพราะเห็ดออกน้อยจนไม่คุ้มค่าแรง เราก็โยก ย้ายที่ทำแปลงใหม่
ปัจจัยที่เกี่ยวข้อง: การเพาะเห็ดฟางให้ได้ผลผลิตมากหรือมีกำไรมาก ขึ้นอยู่กับสิ่งต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับองค์ประกอบแวดล้อม ดังนี้
1. ดินและน้ำ การเพาะเห็ดฟางต้องเพาะอยู่บนดินและน้ำซึ่งอาจจะมีสารที่เป็นผลบวก ที่เป็นผลลบเจือปนอยู่ในน้ำ รวมไปถึงความเป็นกรดเป็นด่างของน้ำ
2. วัตถุดิบที่นำมาใช้ในการเพาะเห็ด ซึ่งจะทำให้ได้เส้นใยมากและเส้นใยก็จะแปรสภาพเป็นดอกเห็ดอีกครั้งหนึ่ง
3. อาหารเสริม อาหารเสริมที่นำมาใช้อาจจะเป็นรำพวนข้าว ในการเพาะเห็ดบางรูปแบบ ใช้ผักตบชวาสับเป็นชิ้นเล็ก ในสมัยก่อนมีการใช้ไส้นุ่น ใช้กากเมล็ดฝ้ายหรือเศษฝ้ายที่ได้มาจากโรงงานปั่นฝ้าย หรืออาจจะเป็นเศษพืชอื่น ๆ ชิ้นเล็กที่ย่อยสลายง่าย เปียกน้ำง่ายและเห็ดชอบกิน
4. อุณหภูมิ ถ้าฤดูแตกต่างหรืออุณหภูมิแตกต่างมาก การเจริญเติบโตของเส้นใยก็แตกต่างไป เช่น หน้าหนาวเส้นใยจะเจริญช้าโดยทั่วไป แต่ในหน้าร้อนอุณหภูมิสูงเส้นใยก็จะเจริญเติบโตรวดเร็วกว่า
5. ภูไมท์ซัลเฟต ปัจจุบันนำมาใช้ในการเสริมสร้างให้เส้นใยเห็ดเจริญเติบโตได้ดี มีจำหน่ายทั้งของแท้และมีผู้ทำปลอมเลียนแบบ
6. การคลุมกอง ว่าคลุมดีแค่ไหน เก็บความชื้นได้ดีขนาดไหน
7.การถ่ายเทอากาศ เมื่อถึงระยะจะต้องถ่ายเทอากาศได้มีการรดน้ำ มีการถ่ายเทอากาศได้ดีแค่ไหน
8. วิธีการเก็บดอกเห็ด ที่ทำให้ดอกเห็ดที่เหลือที่ไม่ได้เก็บกระทบกระเทือน ยังคงสามารถเจริญเติบโตเป็นดอกใหญ่ได้ต่อไป มีเรื่องของโรค ของแมลง ของศัตรูของเห็ดต่าง ๆ เหล่านี้เป็นองค์ประกอบเป็นปัจจัยที่เกี่ยวข้อง ซึ่งจะทำให้ได้ผลผลิตมากหรือน้อย
ข้อคำนึงในการเพาะเห็ดฟางบนพื้นดินด้วยเปลือกมันสำปะหลัง:
1.เรื่องของดิน
จำเป็นต้องศึกษาสภาพของดินเพราะว่าจะเกี่ยวข้องกับการรดน้ำ ถ้าเป็นดินทรายจัด เมื่อรดน้ำ น้ำส่วนเกินก็จะระบายถ่ายเทไปอย่างรวดเร็ว ถ้าเป็นดินร่วน น้ำก็จะระบายถ่ายเทลงหน่อย ถ้าเป็นดินเหนียว น้ำซึมยากหากรดน้ำโดยที่น้ำขังอยู่ บริเวณนั้นเส้นใยเห็ดก็ไม่สามารถเจริญเติบโตได้
จำเป็นจะต้องหาวิธีที่จัดการให้น้ำมีการระบายถ่ายเทได้ดี และเมื่อน้ำระเหยจากดินข้างล่างขึ้นมา ในสภาพนี้อาจจะใช้ผ้าพลาสติกคลุมที่จะช่วยเก็บความชื้นไว้ได้ จึงทำให้ไม่ต้องรดน้ำมากหรือบ่อยเกินไป ดินนั้นเป็นดินที่มีการปลูกพืชผักมาก่อนหน้านี้ แต่ต้องไม่มีการใช้สารเคมี เช่น ใช้ยาฆ่าหญ้า ยาฆ่าแมลง ยาฆ่าไร หรือใช้ยาฆ่าเชื้อรา เชื้อรากับเห็ดนั้นเป็นพี่น้องกัน สารเคมีที่มาฉีดพ่นฆ่าเชื้อราส่วนใหญ่จึงฆ่าเชื้อเห็ดได้
เคยมีการฉีดยาฆ่าเชื้อราที่ดินบริเวณที่จะปลูกเห็ดหรือไม่ ถ้ามี การฉีดพ่นครั้งสุดท้ายนานเท่าไรแล้ว มีตกค้างอยู่มากแค่ไหน อาจจะมีผลกระทบไปถึงผลผลิตของเห็ดที่จะเจริญบนดินรอบ ๆ กองเห็ด ถ้าไม่ได้ระมัดระวังเรื่องนี้ ก็จะได้ผลผลิตเห็ดเฉพาะบนกอง บนดินนั้นจะไม่ได้เลย เพราะสารเคมีตกค้าง ถ้าสารเคมีตกค้างมาก ๆ ซึมเข้ามาที่กองแม้แต่เห็ดบนกองก็อาจจะไม่ได้ ดินที่เราปลูกเห็ดนั้นมีอินทรีย์วัตถุเจือปนอยู่มากน้อยแค่ไหน
ถ้าเป็นดินที่กระด้างไปหมดมีแต่เนื้อดินมีแต่เนื้อทราย โอกาสของการเกิดเห็ดบนดินรอบ ๆ กองก็จะลดลง แต่ถ้ามีอินทรีย์วัตถุบนดิน เป็นดินดีที่มีการใช้ปุ๋ยอินทรีย์ ปุ๋ยหมัก ปุ๋ยคอก ปุ๋ยชีวภาพต่าง ๆ ในการปลูกพืช และอินทรีย์วัตถุเหล่านั้นยังคงมีอยู่ในดิน เช่นนี้ มีแนวโน้มที่ดินแปลงนี้จะให้ผลผลิตเห็ดมากขึ้น ดินแต่ละที่มีความเป็นกรดเป็นด่างไม่เท่ากัน ในพื้นที่เป็นบึงเก่าเป็นหนองน้ำเก่า มีการสลายตัวของอินทรีย์วัตถุ มีฮิวมิคแอซิด ตกค้างอยู่มาก หรือมีกรดตกค้างอยู่มาก เช่น ที่ดินพรุเก่า
เห็ดนั้นมีความต้องการ pH หรือความเป็นกรดเป็นด่างที่แตกต่างกัน ในกรณีของเห็ดฟางจะเจริญเติบโตดีที่สุดที่ pH 7.2 คือ เลยค่าความเป็นกลางมานิดเดียว ถ้าดินบริเวณนั้นตรวจแล้วเป็นดินที่เป็นกรดมาก พยากรณ์ได้ว่าผลผลิตบนดินรอบกองจะต่ำ ถ้า pH ของดินที่นั่นมีปูนตกค้างมาก มีค่า pH เกิน 7.2 มากไป พยากรณ์ว่าจะได้ผลผลิตเห็ดรอบ ๆ กองนั้นน้อยลง ถ้าตรวจสอบแล้วปรากฏว่าดินมีความเป็นกรดสูงเราก็จัดการแก้ไข โดยการใส่ปูนมาร์ลหรือใส่โดโลไมท์หรือหินปูนฝุ่นเหล่านี้เพื่อแก้ไขให้ pH เป็นกลางหรือใกล้เป็นกลาง ผลผลิตของเห็ดบนดินรอบ ๆ กองก็จะสูงขึ้น
ถ้าหากดินที่ใช้ปลูกเห็ดเป็นดินเปรี้ยว และเราต้องการที่จะใส่ปูน เราต้องจดเอาไว้ด้วยว่าพื้นที่นี้ค่า pH เท่านี้ ใส่ปูนในอัตราเท่าไรจึงเหมาะสม แต่ถ้าใส่ปูนลงไปแล้วในครั้งนั้นได้ผลผลิตเห็ดที่ดี เราห้ามจำว่าพื้นตรงนั้นจะต้องใส่ปูนเท่านั้น ๆ ทุกครั้งไปในการปลูกเห็ด เพราะเป็นสิ่งไม่ถูกต้อง
เนื่องจากว่าเราใส่ปูนลงไปครั้งหนึ่งแล้ว พอปลูกเห็ดไปแล้ว ปูนนั้นไม่ได้สลายตัวหรือไม่ได้ถูกใช้ไปหมดจนกระทั่งดินกลับไปเปรี้ยวตาม เดิม แต่ว่าเมื่อใส่ปูนไปครั้งหนึ่งค่า pH ของดินนั้นสูงขึ้น และปูนใส่ไปครั้งหนึ่งจะอยู่ได้หลายปี ในครั้งต่อไปสมมติว่าอีกฤดูหนึ่งเราต้องการที่จะปลูกเห็ดลงไปในพื้นที่ บริเวณนั้นอีก แต่ไม่ต่อเนื่องกัน ไม่ให้ใช้ข้อมูลเก่า
จะต้องตรวจวัด pH ของดิน ณ จุดนั้นว่ามี pH เท่าไรในขณะนั้น สมมติว่ายังไม่ถึง 7.2 แต่ไม่เปรี้ยวเท่าเก่า ถ้าอย่างนั้นอัตราการใช้ของการใส่ปูน ก็จะใส่น้อยลงกว่าที่ใส่ครั้งแรก สำหรับพื้นที่ใดหากเป็นดินเค็ม พื้นที่นั้นจะไม่เหมาะสมต่อการปลูกเห็ดฟาง ทั้งนี้เนื่องจากเห็ดฟางนั้นแพ้ความเค็ม ไม่สามารถจะให้ผลผลิตที่ดีบนดินที่เค็มนั้นได้ สมมติว่าเค็มเพียงเล็กน้อยแล้วต้องการที่จะปลูกเห็ด เราอาจจะใช้แกลบโรยหนา ๆ บนดินบริเวณนั้นแล้วค่อยปลูกเห็ด แต่ก็ถือว่ายังไม่ดี เพราะเมื่อรดน้ำ น้ำไปต่อเชื่อมกับดินเค็มที่อยู่ข้างล่างน้ำก็จะเค็ม
เมื่อเกิดการระเหยที่ข้างบนน้ำเค็มข้างล่างก็จะเคลื่อนย้ายขึ้นมา แล้วทิ้งเกลือเอาไว้เห็ดก็ไม่สามารถเจริญเติบโตได้ดีบนดินเค็มเหล่านั้นได้ อันนี้ต้องยอมรับความเป็นจริง พื้นที่ดินเค็มก็ไม่เหมาะที่จะเพาะเห็ดอยู่บนพื้นที่ดินเค็มนั้น ๆ ในเรื่องของการเตรียมดินถ้าเป็นดินที่มีลักษณะร่วนซุยอยู่แล้ว การขุดและตากไว้ประมาณ 1 สัปดาห์ก็เพียงพอที่จะให้ดินนั้นเหมาะสมต่อการใช้ปลูกเห็ด
ในสภาพของดินที่เหนียวจัดบางครั้งก็ต้องขุดและตาก และเมื่อเป็นดินเหนียวก็จะแข็งอยู่ ควรจะย่อยดินที่แข็งและเหนียวนั้นให้ร่วนลงเป็นก้อนเล็กก่อนที่จะทำการปลูก เห็ด ซึ่งจะได้ผลผลิตที่ดีกว่าปล่อยให้ดินเหนียวและแข็งเป็นก้อน ๆ ในสภาพที่ดินที่มีความอุดมสมบูรณ์ต่ำ เช่น สมมติว่าเป็นดินลูกรังถ้าเป็นดินลูกรังแท้ ๆ เวลาที่ปลูกเห็ด เห็ดก็จะไม่ได้รับผลที่มีอยู่ในดินลูกรังนั้น แต่ว่าจะได้ผลผลิตเห็ดออกมาจากการย่อยสลายเศษพืชต่าง ๆ ที่วางอยู่บนดินนั่นเอง
มีผู้สอบถามว่าถ้าจะปลูกเห็ดแต่ว่าจะใช้เป็นพื้นปูน ปลูกเห็ดบนพื้นปูนซีเมนต์จะมีผลดีผลเสียอย่างไรหรือไม่ ตอบได้ว่าเวลาเราผลิตเห็ดโดยที่ปลูกอยู่บนดินมันจะมีผลผลิต 2 ส่วน ส่วนหนึ่งก็คือเห็ดที่ขึ้นอยู่บนกอง เช่น ในกรณีที่ใช้เปลือกของหัวมันสำปะหลังก็จะขึ้นอยู่บนกองของเปลือกมันสำปะหลัง อีกส่วนหนึ่งนั้นก็จะขึ้นอยู่บนดินรอบ ๆ กอง ดินยังเป็นแหล่งที่มีการระเหยของน้ำในดินขึ้นมาสู่กอง แต่ถ้าเป็นพื้นซีเมนต์เราก็จะได้เห็ดเฉพาะบนกอง บนพื้นจะไม่มีดอกเห็ดเกิดขึ้น ส่วนน้ำที่จะซึมผ่านในเนื้อซีเมนต์ขึ้นมาก็ไม่มี ดั้งนั้น ก็อาจจะต้องคอยโชยน้ำอยู่ที่พื้นซีเมนต์ให้พื้นซีเมนต์นั้นเปลียกชื้น และมีการระเหยของน้ำขึ้นมาอยู่ที่กองของวัตถุดิบที่เราได้คลุมผ้าพลาสติกเอา ไว้ตลอดเวลา
เมื่อเราขุดดินแล้วก็ตากเช่นนี้ โดยมากสภาพดินจะมีความเหมาะสม ดินที่ไม่เหมาะจะปลูกเห็ดคือดินที่เพิ่งจะปลูกเห็ดรอบที่แล้วผ่านไป เพิ่งเสร็จใหม่ ๆ เมื่อปลูกเห็ดหมดไปรอบหนึ่งก็จะมีเส้นใยเห็ดเป็นจำนวนมากที่ตกค้างอยู่แถว นั้น จะเป็นอาหารของตัวไร จะเป็นอาหารของราเขียว ไตรโคเดอร์ม่า บริเวณนี้เป็นที่ไม่เหมาะจะปลูกต่อไป ควรจะปล่อยให้หญ้าขึ้นสักรอบหนึ่งก่อนหรือปลูกพืชอย่างอื่นไปรอบหนึ่งก่อน แล้วจึงค่อยกลับมาใช้พื้นที่นี้ปลูกเห็ดต่อไปได้อีก ถ้าปลูกซ้ำกันศัตรูก็จะระบาด ทั้งไร ทั้งราเขียว ไตรโคเดอร์ม่า ก็จะเข้าทำลายเห็ด แต่เมื่อพ้นไปหนึ่งฤดูกาลทั้งตัวไรและก็ราเขียวก็จะลดน้อยลงจนไม่มีผลกระทบ ต่อการผลิตเห็ดรุ่นต่อไป
เรื่องของน้ำ:
น้ำที่จะเอามาใช้ในการเพาะเห็ดควรจะเป็นน้ำที่สะอาด น้ำที่มีปัญหาถ้าน้ำมีกลิ่นเหม็น อาจจะเป็นน้ำเกิดภาวะเน่าเสียจากอะไรก็ตามถือว่าเป็นน้ำไม่เหมาะสม น้ำที่เน่าอาจจะเน่าเนื่องจากว่าสารอินทรีย์ต่าง ๆ ในคอกสัตว์ เช่น ในช่วงที่มีฝนตกเกิดการชะล้างสารอินทรีย์ต่าง ๆ ในคอกสัตว์ลงไป หรือจากแหล่งอื่น ๆ น้ำที่บูดเน่าเสียหายก็จะปล่อยกลิ่นเหม็นออกมา เป็นพิษต่อเห็ดโดยเฉพาะอย่างยิ่ง ก๊าซแอมโมเนีย หรือ NH 3
น้ำที่มีอินทรีย์วัตถุมากเกินไปจะทำให้เกิดขบวนการหมักบูดและเกิดกลิ่นที่ ไม่พึงประสงค์ ควรจะมีการบำบัดน้ำเสียก่อน ถ้าไม่สามารถจะหลีกเลี่ยงได้ ถ้าจำเป็นต้องใช้น้ำนั้นจริง ๆ ก็หาวิธีที่จะทำให้น้ำนั้นกลับมาค่อนข้างสะอาดก่อน
น้ำที่มีภาวะเป็นกรดเป็นด่างไม่เหมาะสมก็จะทำให้ผลผลิตของเห็ดนั้นลดลง เห็ดฟางชอบ pH ประมาณ 7.2 ถ้าน้ำเป็นกรดก็จะต่ำกว่า 7.0 ลงมาเหลือ 6.5 อาจจะกระทบกระเทือนไม่มาก แต่ถ้าต่ำลงมาจนถึง 6 ถึง 5 ถึง 4 อย่างนี้ น้ำนั้นจะทำให้ผลผลิตของเห็ดต่ำลง ถ้าจำเป็นควรจะต้องดูให้เป็น น้ำที่กักบริเวณได้ แล้วหาวัสดุปูน เช่น โดโลไมท์หรือปูนมาร์ลหรือหินปูนฝุ่นหรือหินปูนบด หว่านลงไปในน้ำ แล้วปล่อยให้เขาปรับสภาพให้เป็นกรดลดลง ถ้าขึ้นมาใกล้เป็นกลางก็เป็นสิ่งที่ดี
หากพื้นที่ใดน้ำที่จะเอามาใช้รดเห็ดมีภาวะเป็นด่างคือเกิน 7.0 ขึ้นไปมาก เห็ดจะออกดอกได้น้อย เห็ดจะเจริญเติบโตไม่ดีควรจะต้องหาวิธีปรับน้ำนั้นให้กลับเข้ามาเป็นกลาง ในกรณีที่จำเป็นอาจจะใช้แหล่งน้ำที่เป็นกรดเอามาเจือผสม ถ้าเป็นสภาพที่เป็นด่างเพราะหินปูนมากเกินไป เราอาจจะดูแหล่งของกรดที่ราคาถูก แต่ถ้าต้องลงทุนถึงขนาดนี้โดยมาก เพาะเห็ดก็แทบจะไม่มีกำไรแล้ว หาแหล่งหาพื้นที่ที่จะปลูกเห็ดที่ดินก็ดีน้ำก็ดี ให้มีปัญหาน้อยที่สุด
ปัญหาที่พบว่าอาจจะเกิดจากน้ำอีกพวกหนึ่งคือพวกสารพิษ สารพิษนี้บางครั้งก็ได้มาจากพวกสวนไร่นานั่นเอง เช่นมีการฉีดยาฆ่าหญ้า ฉีดยาฆ่าแมลง ฉีดยาป้องกันกำจัดเชื้อราเหล่านี้ ถ้ามีสารที่ป้องกันกำจัดเชื้อรา มีผลกระทบมาก เห็ดกับรานั้นใกล้เคียงกันที่สุด น้ำที่มียาฆ่าเชื้อราก็จะฆ่าเห็ดไปในตัว ถ้าเป็นน้ำที่มาจากน้ำประปา เป็นน้ำที่ใสแต่บังเอิญช่วงนั้นฝ่ายผลิตน้ำประปาใส่คลอรีนมามาก ผลผลิตเห็ดก็จะไม่ค่อยดีสมมติว่าจะต้องใช้น้ำที่ใส่คลอรีนมาแล้ว คลอรีนนั้นใส่ลงไปเพื่อฆ่าเชื้อ ดังนั้นควรที่จะหลีกเลี่ยง แต่ถ้าหลีกเลี่ยงไม่ได้ จะต้องมีภาชนะ มีโอ่งสำหรับที่จะเอาน้ำใส่เอาไว้แล้วก็เปิดฝาโอ่งเพื่อให้แดดส่องลงไป ทิ้งให้แดดเผาอยู่ประมาณ 2 – 3 วัน คลอรีนส่วนที่เกินที่เหลืออยู่ก็จะระเหยหายไป คือจะลดลง
น้ำที่มีการระบายมาจากโรงงานอาจจะเป็นน้ำที่อ้างว่าได้มีการบำบัดเรียบร้อย แล้ว บำบัดเรียบร้อยแล้วนี้ไม่แน่ว่าบำบัดในส่วนไหน น้ำที่บำบัดมาแล้วจากโรงงานโดยมากไม่นิยมที่จะเอามาใช้เพาะเห็ดโดยตรง น้ำนั้นควรจะมีสระน้ำ มีอ่างเก็บน้ำหรือเขาขุดเป็นบ่อน้ำขึ้นโดยเฉพาะ แล้วในอ่างในบ่อนั้นปลูกผักตบชวาหรือจอก เป็นพืชน้ำที่จะช่วยปรับสภาพน้ำให้กลับดียิ่งขึ้น น้ำที่ได้มีผักตบชวามีพืชน้ำขึ้นอาศัยอยู่ ส่วนมากก็จะได้มีการปรับสภาพจนเหมาะที่จะใช้ในการเพาะเห็ด
วิธีตรวจสอบอย่างง่ายแบบที่ตรวจสอบความสกปรกของน้ำ ใช้น้ำนั้นลองมาเลี้ยงปลาหางนกยูง ใส่ปลาหางนกยูงลงไป ถ้าปลาหางนกยูงตายนี้แสดงว่าใช้ไม่ได้ ต้องเป็นน้ำที่ใช้เลี้ยงปลาหางนกยูงได้ดี เป็นการตรวจสอบ โดยปรกติทั่วไปน้ำที่ใช้เพาะเห็ดก็ได้จากแหล่งแม่น้ำ ลำคลองหรือบึง บ่อ สระต่าง ๆ ที่มีปลาอาศัยอยู่ ถ้าปลาอาศัยอยู่ได้ก็ไม่น่าจะมีปัญหาสำหรับที่จะเอามาใช้เพาะเห็ด แต่ถ้าเป็นน้ำที่ใส ๆ นิ่ง ๆ ปลาก็ไม่มีอะไรก็ไม่มี และเมื่อไม่ได้ตรวจสอบเรื่องกรดด่างเรื่องสารพิษเรื่องอะไรต่าง ๆ การที่จะเอาน้ำมาเพาะเห็ดก็ไม่สามารถที่จะคาดหมายว่าจะได้ผลผลิตที่ดี ถ้าน้ำมีไม่ค่อยมากก็อาจจะเอาน้ำนั้นมาแล้วก็จับทำลายสารพิษต่าง ๆ เช่นใช้สเม็คไทต์หรือสเม็คโตทัฟฟ์หว่านใส่ลงไป แล้วก็ทิ้งให้เขาทำความสะอาดคือย่อยสลายหรือจับตรึงสารพิษต่าง ๆ เมื่อน้ำนั้นใสดีแล้วและตรวจสอบด้วยปลาหางนกยูงแล้ว ปรากฏว่าไม่มีพิษภัยใด ๆ น้ำนั้นก็จะใช้เพาะเห็ดได้ดี แต่อย่างไรก็ตามเรารู้ทฤษฎีต่าง ๆ แล้วก็ต้องคำนวณเป็นว่าต้องการน้ำจากแหล่งที่ต้นทุนในการผลิตต่ำที่สุด รู้ทฤษฎีไม่พอต้องคิดบัญชีเป็นด้วย ถ้าทำน้ำให้บริสุทธิ์ปลูกเห็ดได้ดีแต่ต้นทุนสูงเกินไปก็ไม่สามารถดำเนิน ธุรกิจได้
วัตถุดิบที่ใช้ในการเพาะเห็ดฟาง:
วัตถุดิบในที่นี้ก็คือเปลือกของหัวมันสำปะหลัง ในปัจจุบันมีวัตถุดิบขายในสภาพที่แตกต่างกันมาก และเกษตรกรก็มีความเข้าใจในเรื่องของวัตถุดิบนี้แตกต่างกันไป ถ้าถามว่าวัตถุดิบแบบใดที่ดีที่สุดต้องตอบว่าเป็นเปลือกของหัวมันสำปะหลัง ที่มีออกมาใหม่ล่าสุด แล้วก็นำมาตากให้แห้ง ตากให้แห้งแล้วก็เก็บเอาไว้ ไม่โดนฝนชะล้างไม่เปียกไม่บูดไม่เน่า
ถ้าได้เปลือกหัวมันมาใหม่ ๆ แล้วก็ตากให้แห้งให้เร็วที่สุดเท่าไรนั้นก็เป็นวัตถุดิบที่ดีที่สุด คือยังมีแป้งแทรกอยู่เป็นส่วนที่จะมาใช้ในการหมักสลายและก็เกิดเส้นใยเห็ด ได้ดีที่สุด แต่ถ้าได้เป็นเปลือกมันสำปะหลังชนิดที่กองเอาไว้แล้วถูกฝนตกล้างแล้วล้างอีก จนจืด อย่างนี้คุณค่าทางอาหารของเห็ดก็จะมีน้อยลง
ในส่วนของแป้งก็จะไม่มีเหลือแต่เป็นเศษของเปลือกที่ย่อยสลายออกมาช้า ๆ ผลผลิตก็จะไม่ค่อยมากนักอาจจะต้องใช้อาหารเสริมช่วย ถ้าเป็นวัตถุดิบในฤดูฝน บางแห่งได้คุณภาพไม่ดีเลยเพราะว่าเปลือกหัวมันโดนฝน เป็นกองขนาดใหญ่ ๆ เกิดการหมักการบูดการเน่า เน่าเหม็น เหม็นเปรี้ยว ในกองนั้นเป็นวัตถุดิบที่เน่าเหม็นเปรี้ยว บางครั้งพวกเปลือกหัวมันที่เก่ากองเอาไว้นานโดนฝน ถูกเชื้อเห็ดชนิดอื่นขึ้นเช่น เห็ดขี้ม้าหรือเห็ดถั่วขึ้นแล้วก็ย่อยกินอาหารที่มีอยู่ในเปลือกหัวมันไป เป็นบางส่วน คือคุณภาพนั้นก็ลดลงตัวอาหารที่เห็ดฟางจะเอามาใช้นั้นก็น้อยลง เกษตรกรควรจะหาวิธีที่เหมาะสมในการที่จะเก็บรักษาวัตถุดิบนั้น
วัตถุดิบถ้าเผื่อได้มาได้ของใหม่มาจะดีที่สุด ไม่บูด ไม่เน่า ไม่เก่า ไม่แก่ ไม่เก่าเก็บ ซื้อมาจากโรงงานเอามากองแล้วก็เอามาเกลี่ยในลานตาก ให้โดนแดดให้จัด แดดเปรี้ยง ๆ เกลี่ยให้บาง ๆ ให้แห้งเร็วต้องไม่ให้ถูกฝน ก็จะเป็นสิ่งที่ดีที่สุด ต้องไม่ขนวัตถุดิบนั้นไกลจนเกินไป ถ้าขนมาจากที่ไกลค่าขนส่งก็จะมาก ต้นทุนก็จะแพง ในเรื่องการเรียกร้องที่จะได้เปลือกหัวมันที่ใหม่ที่สุด เราก็เพียงที่คิดว่าอยากจะได้ แต่ถ้าจำเป็น ไม่มี จำเป็นต้องใช้ก็ดูอย่าให้เก่าเกินไป อย่าให้ถูกย่อยสลายจนเกินไป เมื่อขนเปลือกหัวมันมาถึงพื้นที่ที่ฟาร์มแล้ว ควรจะต้องมีสถานที่เก็บ อาจจะเป็นยุ้งหรือไม่ก็มีผ้าคลุมกันฝน เพราะถ้ามากองเอาไว้ถ้าฝนตกแล้วก็เน่าแฉะ ผลผลิตที่พึงจะได้ดีก็มาสูญเสีย ถ้าขนมาวัตถุดิบมาถึงแล้วก็ยังชื้นอยู่ อย่างนั้นควรจะเกลี่ยออกตากแดด ตากให้แห้งสนิทเสียก่อนแล้วจะค่อยนำมาเก็บรักษาเอาไว้ ซึ่งก็เป็นเช่นเดียวกันกับเปลือกฝักถั่วเขียว เปลือกฝักถั่วเหลือง เราควรจะได้ของใหม่มา ตากแห้งเก็บเอาไว้ให้ดีอย่าให้โดนฝน

ในอนาคตอาจจะมีการศึกษาเพิ่มขึ้นกันอีกหลายอย่าง เช่น ในประเทศญี่ปุ่นเพาะเห็ด จะซื้อซังข้าวโพด วันหนึ่งซื้อไปจากประเทศไทย ซื้อต้นข้าวโพดที่ตากแห้ง ป่นให้ละเอียด ก็เอาไปเพาะเห็ดแต่ซังข้าวโพดป่น ต้นข้าวโพดป่น ประเทศไทยยังไม่ค่อยได้เอามาใช้ในการเพาะเห็ด ยังมีต้นข้าวฟ่างมีต้นทานตะวัน ต้นถั่วต่าง ๆ ถ้าตากแห้งแล้วเข้าเครื่องตีป่น ตีป่นเป็นชิ้นเล็กชิ้นน้อย น่าที่จะเอามาเพาะเห็ดในรูปแบบเดียวกันนี้ได้ ท่านคงได้ยินได้ทราบมาบ้างว่าเขาใช้ถุงเห็ดที่เขาใช้เพาะในระบบถุงที่หมด อายุแล้ว เอาปลูกเห็ดในลักษณะที่คล้าย ๆ กัน ใช้พวกผักตบชวาสับ จะใช้ผักตบชวาแห้ง ผักตบชวาสดสับเป็นชิ้นเล็ก ก็เอามาใช้เป็นตัวอาหารเสริมช่วยทำให้ผลผลิตของเห็ดนั้นดีขึ้น ในลักษณะเช่นนี้จะไม่ค่อยใช้ผักตบชวาเพื่อเป็นวัตถุดิบโดยตรง ใช้ฐานะอาหารเสริม ในการที่จะเพาะเห็ดฟางให้ได้ผลดีนั้น อาหารเสริมก็เป็นส่วนที่มีความสำคัญ ในปัจจุบันนี้ในแง่มุมของอาหารเสริมจะมีทั้งที่เป็นเศษอินทรีย์วัตถุ และก็มีส่วนที่บอกว่าเป็นอาหารเสริมจากหินแร่ภูเขาไฟเช่น ภูไมท์

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น